การเรียน Writing สำหรับโรงเรียนไทยแตกต่างจากเจ้าของภาษาอย่างไรนั้น เป็นสิ่งที่ถ้าได้รู้อาจจะทำให้ การจัดลำดับการ “เริ่ม” Writing ว่าควรเริ่มฝึกเมื่อไหร่เปลี่ยนไป และเด็กฝรั่งเค้าเริ่มฝึก Writing กันอย่างไรสามารถติดตามได้จากบทความนี้ค่ะ
เด็กฝรั่งฝึก Writing กันยังไง
จาการที่มีลูกชาย 2คน อยู่โรงเรียนอินเตอร์ในไทยแต่ที่บ้านเราคงยังพูดภาษาไทยเป็นภาษาหลัก การฝึกเขียนภาษาอังกฤษ หรือ Writing เป็นสิ่งที่เด็กนักเรียนโรงเรียนอินเตอร์ในไทยฝึกตั้งแต่ยังเล็ก หลังจากการเริ่มพูดและฟังภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันที่โรงเรียน นักเรียนก็จะได้ทำความรู้จักกับตัวอักษร การออกเสียง การผสมคำ และ สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการที่คุณครูให้การบ้านกลับไปอ่านหนังสือกับคุณพ่อคุณแม่วันละ 20นาที จากหนังสือที่ยืมไปจากห้องสมุดของโรงเรียน หรือ ห้องสมุดดิจิตัลของโรงเรียน และระหว่างวันก็จะมีชั่วโมงห้องสมุด เพื่อให้ฟังครูอ่านนิทาน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนเคยชินกับการอ่านหนังสือและเพื่อให้รู้จักคำศัพท์มากขึ้น
พอเริ่มอ่านเองได้บ้างคุณครูจะให้กระดาษมา 1 คู่ หรือ 4หน้า พร้อมกรอบรูปและเส้น 4-5บรรทัดให้วาดรูปและเขียนคำประกอบ และ เด็กๆ ก็จะเริ่มเขียนกันตั้งแต่ตอนนั้น
ต่อมาในชั้น เกรด 1-2 ก็จะให้นักเรียนฝึก Writing ด้วยการเขียนจากทำรีเสิร์ชค้นคว้าจากหนังสือที่เกี่ยวกับสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งตามที่ครูกำหนดให้ เช่น ฉลาม เหยี่ยว นก หรือ อื่นๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลจากหนังสือหลายๆเล่ม และนำสิ่งที่อ่านมาเขียนเป็นหนังสือของพวกเขา โดยให้ใช้โปรแกรม Book Creator ที่สามารถนำภาพมาใส่เพื่ออธิบายไปพร้อมกับสิ่งที่เขียนได้ โดยให้โครงสร้างสารบัญ หรือ Table of Content เป็นหัวข้อง่ายๆ เช่น What Am I?, Where do I live?, What do I eat? และให้สรุปสิ่งที่อ่านมาแบ่งเขียนตามหัวข้อเหล่านี้เป็นหน้าๆไป ให้ตรงกับสารบัญทำกำหนดหน้าไว้
จะเห็นว่าเจ้าของภาษาจะฝึกการเขียนให้เด็กๆของตนเองด้วยการผลักดันให้อ่านหนังเพื่อสะสมข้อมูล และให้เรียนรู้การใช้ภาษาอังกฤษและการเรียงประโยคอย่างเป็นธรรมชาติตามที่เจ้าของภาษาใช้จริง และให้เริ่มฝึก Writing ตามภาษาที่ใช้พูดและได้อ่านมาจากหนังสือสำหรับเด็กก่อนที่จะเริ่มเรียนแกรมม่าด้วยซ้ำ
หลังจากนั้นประมาณ เกรด 2 เด็กๆจึงจะเริ่มเรียนเกี่ยวกับการเติม s หรือ es ที่กริยาที่มีประธานเป็นเอกพจน์ และ Verb ช่อง 2 และเรียนเรื่องแกรมม่าเรื่องอื่่นๆต่อไป เพื่อค่อยๆนำมาใช้ใน Writing ที่ฝึกอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เกรด 1 แนวทางการปฏิบัตินี้เป็นหลักปฏิบัติที่ใช้จริงและได้ผลจริง ผู้ที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 สามารถนำมาปฏิบัติเพื่อฝึกฝนทั้ง Writing และ Reading ได้
สำหรับผู้ที่เพิ่งต้องการเริ่มฝึกเขียนด้วยตัวเอง หรือ กำลังหาวิธีเริ่มต้นให้ลูกๆ ฝึก Writing สามารถเริ่มศึกษาจากหนังสือต่างๆ ที่เด็กๆเจ้าของภาษาถูกสอนตาม ให้ได้เรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ เพิ่มเติมจากการเรียนรู้แกรมม่าเพียงอย่างเดียวเพื่อที่จะรอเขียนแต่ไม่ได้เริ่มซักที ผู้เริ่มต้นสามารถฝึกเขียนตามแบบฝึกหัดของหนังสือได้ เพื่อ “เริ่ม” การฝึก เพราะการเขียนต้องฝึกฝนบ่อยๆ
ตอนนี้ลูกอยู่ เกรด 4 แล้ว ก็ยังต้องอ่านภาษาอังกฤษทุกวันเป็นการบ้าน ทำให้เข้าใจว่าการได้อ่านหนังสือภาษาอังกฤษเป็นประจำยังเป็นการเพิ่มขุมทรัพย์คำศัพท์และคลังความรู้เพื่อนำไปใช้ในการเขียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย (To become a successful writer, you really do need to read and write every day! Here’s why.)
อ่านเพิ่มเติม : บทความสำหรับการใช้ภาษาอังกฤษในสถาการณ์อื่นๆ
การแบ่งประเภท Writing
จากการที่ลูกๆได้ใช้ห้องสมุดดิจิตัลของโรงเรียน และได้เห็นหนังสือหลายๆ ซีรี่ย์ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนซึ่งมีแนะนำให้ตั้งแต่ระดับ PreK หรือเตรียมอนุบาล -ป.6 ทำให้เห็นว่าฝรั่งเค้าจำแนกประเภทการเขียนออกมาคล้ายๆกัน โดยแบ่งประเภทตามช่วงอายุจากง่ายไปยากดังนี้ (สามารถเลือกอ่านตามความสนใจ)
ประเภทการเขียนสำหรับเด็กเล็ก เตรียมอนุบาล -ป.2
หนังสือแนะนำสำหรับเด็กเล็กระดับชั้น เตรียมอนุบาล – ประถม 2 จะกระตุ้นให้เด็กๆเริ่มเขียนเรื่องใกล้ตัวโดยเริ่มจากความคิดเห็นของตัวเอง หรือ opinion piece โดยจะแนะแนวทางการให้เหตุผลสนับสนุนว่าทำไมถึงมีความคิดเห็นเช่นนั้น และสอดแทรกว่าความคิดเห็นเป็นสิ่งที่คนอื่นไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย แต่ให้พยายามเขียนสนับสนุนความคิดของตนเองเพื่อให้เด็กๆเริ่มรู้จักคิดวิเคราะห์ในสิ่งที่ใกล้ตัว เพื่อพัฒนาไปยังการเขียนเพื่อโน้มน้าวหรือ persuasive writing ได้ในระดับที่สูงขึ้น หนังสือแนะนำสำหรับเด็กเล็กมีหัวข้อดังต่อไปนี้
- Opinion
- Story
- Poem
- Report

อ่านเพิ่มเติม : หนังสือนิทานภาษาอังกฤษสำหรับเด็กเล็ก
ความโดยย่อจากหนังสือตัวอย่าง Opinion
การให้ความคิดเห็น เป็นสิ่งที่เราเขียนเพื่อบอกว่าทำไมเราถึงคิดแบบนั้น ควรจะมีเหตุผลมาสนับสนุนความคิดของเรา ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
- ควรลิสต์เหตุผลสนับสนุนความคิดเห็นนั้นๆออกมา ถ้าเราไม่สามารถนึกถึงเหตุผลสนับสนุนได้ก็ควรเปลี่ยนหัวข้อการเขียน เพราะเราจะไม่สามารถเขียนได้อย่างน่าติดตาม และ เหตุผลสนับสนุนก็จะไม่แข็งแรงพอ
- จงเข้าใจว่าการแสดงความคิดเห็น ไม่ใช้ fact เป็นสิ่งคนอื่นไม่จำเป็นต้องเห็นคล้อยตามกับเรา
ตัวอย่างคำขึ้นต้นประโยค Opinion Piece มีดังนี้
• I like… I would like…
• I think… I feel… I believe…
• The best… The best thing about…
• My favorite…
• Everyone should …
• In my opinion…
หลังจากเขียนประโยคหลักในการแสดงความเห็นแล้ว ต่อไปสิ่งที่ต้องเขียนคือเหตุผลที่ลิสต์ออกมาว่าทำไมผู้เขียนถึงมีความคิดเห็นเช่นนั้น คำเชื่อมจะช่วยในการเพิ่มเหตุผลสนับสนุนเข้าไป เช่น
• Because
• And
• Also
• Another
• Other
• So
ในตอนจบของ Opinion Piece ผู้เขียนสามารถที่จะเรียกร้องให้ผู้อ่านที่เห็นด้วยทำกิจกรรมที่ผู้เขียนส่งเสิรม หรือ “Call to Action”
เชิญรับชมคลิปหนังสือเสียง ” Opinion “
ประเภทการเขียนที่เพิ่มเติมเข้ามาสำหรับ ป.1 – 3
ในระดับเด็กโตขึ้นมาหน่อย ชั้นประถม 1-3 เด็กๆจะเริ่มทำความรู้จักเพิ่มเติมกับการเขียนจดหมายและอีเมลล์, การเขียนวิธีการใช้, คำแนะนำ, หรือ Instructions และการเขียนเจอนอล หรือ Journals และ Narratives
- Journals and Narratives
- Letters and E-mails
- Instructions

ความโดยย่อจากหนังสือตัวอย่าง I Can Write Instructions
เมื่อเริ่มโตขึ้นนักเรียนจะถูกให้เริ่มฝึก Writing โดยการเรียบเรียงการเขียนขึ้นเป็น วิธีการใช้, ขั้นตอนการทำ, คำแนะนำ, หรือ สูตรอาหาร มีสิ่งที่เป็นองค์ประกอบดังนี้
- ชื่อเรื่อง ที่ชัดเจน กระชับ
- ลิสต์อุปกรณ์ในการใช้ทำตามตามวิธีทำนี้ ด้วย You will need:, Ingredients:
- การเรียงลำดับขั้นตอนอย่างถูกต้อง และใช้ verb ที่ชัดเจนว่าให้ทำอะไร
- การใช้ตัวเลขลำดับขั้นตอนเพื่อบอก step-by-step 1, 2, 3,….
- เขียนเป็นประโยคให้ชัดเจนในแต่ละข้อ
- รูปประกอบ
- ลูกศรชี้ที่ภาพประกอบแต่ละส่วนพร้อมคำบรรยาย
เชิญรับชมคลิปหนังสือเสียง ” I Can Writing Instructions “
ประเภทการเขียนที่ครอบคลุมมากขึ้น
ในวัยโตขึ้นเล็กน้อย ประถม 2 – 4 เมื่อให้เด็กๆได้ทำความรู้จักกับ adjective หรือคุณศัพท์ แล้ว หัวข้อหนังสือจะแบ่งงานเขียนเป็นประเภทใหญ่ๆ เพื่อให้เห็นภาพหมวดหมู่ในการเขียนที่ครอบคลุมมากขึ้นได้แก่ informational, creative, persuasive และ instructional ก็มีให้ศึกษาเพิ่มเติมค่ะ
- Instructional Writing
- Informational Writing
- Creative Writing
- Persuasive Writing

เกริ่นนำโดยย่อจากหนังสือตัวอย่าง .”Persuasive Writing”
หลังจากที่นักเรียนทำความรู้จักกับการเขียนประเภทต่างๆมาแล้ว หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นภาพที่ใหญ่ขึ้นโดยแยกประเภทงานเขียนเป็น Fiction และ Non-Fiction
Fiction คือ งานเขียนที่เขียนจากจินตนาการ
Non-Fiction คือ งานเขียนเกี่ยวกับสิ่งที่มีอยู่จริง หรือ Fact
โดยกล่าวว่าทุุกๆวันนี้คนเราใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลาง Non-Fiction Writing เช่น วิธีการต่อของเล่น, สูตรการอบขนม, โปสเตอร์ต่างๆ, ใบปลิว, และ เว็บไซต์ แม้กระทั่ง ฉลากบนแพคเกจอาหาร, โฆษณาบนนิตยาสาร หรือ อินเตอร์เนท, คำอธิบายแผนที่ที่นำเพื่อนๆมายังบ้าน และ ไดอารี่ประจำวัน โดยหนังสือเชื่อมโยงว่าสื่อต่างๆเช่น โฆษณา หรือ บทความขายของที่เราต้องอ่านทุกๆวันเหล่านี้เขียนเพื่อโน้มน้าวให้คนเชื่อตามและเห็นว่าสิ่งที่เค้ากำลังขายหรือโฆษณานั้นเป็นสิ่งที่ดี คือการเขียนแบบ Persuasive Writing ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นการเขียนประเภทหนึ่งใน Non-Fiction Writing โดยเน้นให้เขียนให้เข้าถึงความรู้สึก หรือ pain point ของผู้อ่านให้มากที่สุดเพื่อให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตาม
ในการเขียน Persuasive Writing นั้นจะใช้ Present Tense ในการเขียน และมีตัวอย่างและคำแนะนำการเขียน Persuasive Writing ในชิ้นงานจริงๆอีกหลายแบบ
เชิญรับชมคลิปหนังสือตัวอย่าง “Persuasive Writing” ได้เลยค่ะ
สิ่งที่ต้องทำก่อน Writing
แน่นนอนว่าก่อนที่ผู้เขียนจะสามารถรังสรรค์ชิ้นงานเขียน หรือใช้ Writing Skill นั้น ผู้เขียนต้องมีข้อมูลที่พร้อมจากหลายๆแหล่ง เพราะจะทำให้งานเขียนมีความน่าเชื่อถือด้วยการยืนยันกันเองจากข้อมูลหลายๆแหล่ง และผู้เขียนต้องเรียบเรียงข้อมูลเหล่านั้นตามลำดับที่เหมาะมาเป็นอย่างดีแล้วก่อนทำการเขียน ดังนั้นขั้นตอนที่จะขาดไม่ได้เลยก่อนทำงานเขียนคือ การทำรีเสิร์ช หนังสือสำหรับเด็กเกรด 3 -ุ 6 ซีรีย์ Research Tools Kits ช่วยตั้งหลักการทำรีเสิร์ชให้เป็น 4 หัวข้อ คือ
- Collects Your Thoughts
- Smart Research Strategies
- Think For Yourself
- Present What You Know

จากชื่อหนังสือว่าบ่งบอกว่าเจ้าของภาษาให้ความสำคัญกับกระบวนการรวบรวมไอเดีย เพื่อเตรียมตัวก่อนทำงานเขียนเป็นอย่างมาก ซึ่งเด็กๆสามารถนำไปใช้ในการทำงานเขียนเมื่อโตขึ้นได้ตลอดเพราะมีพื้นฐานที่แข็งแรงเหล่านี้
ความโดยย่อบางส่วนจากหนังสือ Smart Research Strategies
หนังสือเล่มนี้ มี 27หน้า และเวลาเสียงอ่าน (Audio Time) 24 นาที โดยมีเนื้อหาให้ผู้เขียนหาข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่น่าเชื่อถือ และ ไม่เลือกใช้เฉพาะแหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เนทเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ชิ้นงามเขียนมีน้ำหนักและความน่าเชื่อถือมากกว่า ในบทที่ 2 จะชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง Primary Source และ Secondary Source ในการเป็นข้อมูลสำหรับงานเขียนว่าแตกต่างกันอย่างไร โดย
- Primary Source จะเป็นแหล่งข้อมูลที่ให้ข้อมูลโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือ มีประสบการในด้านนั้นๆโดยตรง หรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ซึ่งอาจจะเป็นบทสัมภาษณ์ หรือ ไดอารี่ หรือ VDO บันทึกการพูดในที่สาธารณะ ก็ได้
- Secondary Source คือข้อมูลที่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องรวบรวมข้อมูลเพื่อเขียนเกี่ยวกับบุคคล หรือ เรื่องราวนั้นๆ
เชิญรับชมคลิปตัวอย่าง และ แบบทดสอบในบทที่ 2 :
บทสรุป
นอกจากไวยกรณ์แล้ว Writing เป็นสิ่งที่ต้องประสิทธิ์ประสาทความรู้ภาษาอังกฤษหลายๆด้าน ทั้งการอ่านให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ หรือ Reading Comprehension เพื่อนำสิ่งที่อ่านค้นคว้ามาเขียนเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน และ การมีคลังคำศัพท์เพื่อสามารถใช้คำศัพท์ได้หลากหลายสละสลวยน่าติดตาม สิ่งเหล่านี้จะได้จากการอ่านหนังสือภาษาอังกฤษเยอะๆ สังเกตุประเด็นหลักและจับใจความได้เท่านั้น และผู้เขียนยังต้องอ่านหนังสือที่หลากหลายเพื่อให้มีความรู้กว้างขวางในหลายๆด้าน ทำให้สามารถเลือกหัวข้อในการเขียนที่น่าสนใจ สามารถมองต่างมุมและเชื่อมโยงบทความได้อย่างลื่นไหล อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญผู้เขียนต้องสามารถทำรีเสิร์ชเจาะลึกในเรื่องนั้นๆโดยเลือกข้อมูลหรือหลักฐานที่มีน้ำหนักมากเพียงพอมาอ้างอิงในงานเขียนได้ด้วยหรือเรียกว่า”มีไม้เด็ด”
บทความนี้ส่งเสริมให้ผู้ที่ต้องการฝึกเขียนทำตามแบบฝึกหัดที่หนังสือให้ทดลองทำเพื่อเป็นการเริ่มฝึก Writing จากระดับเริ่มต้นไปจนถึงบทความที่ยาวและยากขึ้น จากความคิดเห็นส่วนตัว ไปยังการหาข้อมูลสนับสนุนด้วยการทำรีเสิร์ชจากแหล่งข้องมูลที่น่าเชื่อถือ ถ้าผู้ที่เริ่มเขียนฝึกไปเรื่อยๆจะมองเห็นทิศทางว่าตนเองจะสามารถฝึกเขียนได้อย่างไรบ้างและพัฒนาขึ้นในที่สุด ดังนั้นเริ่มอ่านหนังสือสะสมความรู้ เพื่อสกิลการเขียนที่ได้เลย!
เรียนภาษาอังกฤษด้วยการ อ่าน-ฟัง-พูด เสียงเจ้าของภาษา
หนังสือเสียงอ่านเจ้าของภาษา 6,000 เล่ม ห้องสมุดออนไลน์ myON ใช้แล้วใน 110ประเทศทั่วโลก 16.7ล้านคน
ปรึกษาฟรี!...เรียนต่อ...เรียนภาษา...ทำงาน...ขอวีซ่าถาวร...ขอวีซ่าธุรกิจ...นิวซีแลนด์